ขุดพบพระพุทธรูปโบราณ 3 องค์ ยันพบพระทองคำ”วัดเขาพระทอง” นครศรีธรรมราช

เปิดอ่าน 13,687 views

t1แตกตื่น…พระพุทธรูปโบราณกรุถ้ำเขาพระทองแตก –บนบานขอขุดจนพบ 3 องค์ขนาดเล็กคาดสมัยสุโขทัย-อยุธยา-หมอไสยศาสตร์เผยพระพุทธรูปทองคำองค์ใหญ่พร้อมทรัพย์สมบัติในถ้ำมีมูลค่ามหาศาล-เตรียมประกอบพิธีใหญ่ขุดค้นนำมาเป็นปัจจัยพัฒนาวัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางพุทธศาสนาและวัฒนธรรมรับพระบรมธาตุมรดกโลก

(28 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่วัดเขาพระทองได้ประชาชนและพระภิกษุจำนวนมากทยอยเดินทางมาชมและกราบสักการะพระพุทธรูปโบราณจำนวน 3 องค์ที่เพิ่งขึ้นพบภายในถ้ำโหม่ง เขาพระทอง หมู่ 1 ต.เขาพระทอง อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช เมื่อเย็นว่านนี้ (27 ก.ค.) โดยมีพระอารนันต์ อานันโท เจ้าอาวาสพระช่วย ฤทธิอักษร อดีตกำนัน ต.เขาพระทอง กำนันยอดเยี่ยมแหนบทองคำ 3 ปีซ้อนและพระภิกษุในวัด และชาวบ้านที่ร่วมขุดพบพระพุทธรูปโบราณ คอยอำนวยความสะดวกชี้แจงที่ไปที่มาของการขุดพบพระพุทธรูปโบราณทั้ง 3 องค์ดังกล่าว

พระมหาอารยนันต์ อานันโท กล่าวว่า เรื่องราวความมหัศจรรย์ เร้นลับภายในวัดเขาพระทอง หรือ “ วัดเขาพระทอง ” มีมานานแล้วและเล่าขานต่อ ๆ กันมานับ 1,000 ปี ทั้งเรื่องราวพระพุทธรูปทองคำ และพระพุทธรูปเก่าแก่ซึ่งขุดพบนำขึ้นมาประดิษฐานเพียงส่วนหนึ่ง แต่ยังมีคนที่เคยพบเห็นยืนยันว่ายังมีพระพุทธรูปและทรัพย์สมบัติในถ้ำ เขาพระทองจำนวนมาก มูลค่ามหาศาล รวมทั้งยังพบรอยมือมนุษย์โบราณ และรูเหล็กไหล ที่ผนังถ้ำหลังหลวงพ่อองค์ใหญ่ รวมทั้งชะง่อนหินรูปนางฟ้าเหนือหลวงพ่อองค์ใหญ่ ซึ่งปัจจุบันหินได้พังถล่มลงมาปิดปากถ้ำด้านหน้าไปแล้ว แต่ยังมีทางเข้าทางด้านถ้ำโหม่งด้านหลังภูเขาได้

“อาตมามีเป้าหมายในการพัฒนาวัดเขาพระทองให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางศาสนา วัฒนธรรมและธรรมชาติ ครบวงจร เพื่อรองรับเข้าเข่าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และโครงการพระบรมธาตุตุมรดกโลก โดยต้องการให้วัดเขาพระเป็นประตูทองก่อนเข้าสู่ตัวเมืองนครศรีธรรมราชเป็นจุดแวะพักของนักท่องเที่ยว ก่อนเดินทางเข้าตัวเมืองเพื่อเที่ยวชมและกราบนมัสการพระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ซึ่งอยู่ห่างกับประมาณ 60 กม.เท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากวัดเขาพระทองเป็นวัดโบราณเก่าแก่มีอายุใกล้เคียงกับพระบรมธาตุเจดีย์ที่กำลังจะได้รับการประกาศขึ้นทะเยียวนเป็นมรดกโลกในเร็วนี้”

t14 t13 t4

เจ้าอาวาสวัดเขาพระทอง กล่าวอีกว่า นอกจากทางด้านหน้าผา ซึ่งเรียกว่าพุทธสถานจะมีพระพุทะรูปเก่าแก่อายุกว่า 899 ปี ประดิษฐานเรียงรายจำนวน 29 องค์และมีหลวงพ่อองค์ใหญ่เป็นพระประธานแล้ว ภายในถ้ำหลังหลวงพ่อองค์ใหญ่เป็นที่ล่ำลือต่อ ๆ กันมาว่าภายในถ้ำมีพระพุทะรูปทองคำทรงเครื่อง สูงกว่า 120 ซ.ม. ถูกล่ามโซ่ทองคำที่ข้อเท้ารวมทั้งพระพุทะรูปขนาดต่าง ๆ กระจัดกระจายอยู่ในถ้ำโหม่งหรือถ้ำเขาพระทอง รวมทั้งมหาสมบัติ เพชร นิล จิดา แผ่นทองคำเป็นจำนวนมากมูลค่ามหาศาล อยู่ภายในถ้ำ ซึ่งตามตำนานมีความเชื่อ 2 อย่างเกี่ยวกับพระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปอื่น ๆ เพชรนิลจินดา แผ่นทองคำซึ่งเป็นมหาสมบัติทั้งหมด ประการแรกในครั้งสร้างพระบรมธาตุเจดีย์บรรดาพุทธศาสนิกจากทั่วทุกสารทิศต่างนำทรัพย์สมบัติ โดยเฉพาะแผ่นทองเดินทางไปร่วมสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ แต่เมื่อทราบว่าพระบรมธาตุเจดีย์สร้างเสร็จแล้ว จึงช่วยกันหาทำเลที่เหมาะ ๆ สร้างวัดและสร้างพุทธรูปขึ้นเป็นจำนวนมาก ความเชื้อประการที่ 2 เมื่อครั้งเกิดภัยสงครามประชาชนได้นำพระพุทธรูปและทรัพย์สินสมบัติมาซ่อนไว้ในถ้ำเขาพระทอง เพราะเกรงข้าศึกจะยึดเอาไป พระพุทธรูปและทรัพย์สมบัติทั้งหมดจึงอยู่ในถ้ำมาจนถึงทุกวันนี้

พระอาจารย์ช่วย ฤทธิอักษร อดีตกำนัน ต.เขาพระทอง กำนันยอดเยี่ยมแหนบทองคำ 3 ปีซ้อนพระลูกวัดเขาพระทอง กล่าวว่าในช่วง 50-80 ปีที่ผ่านมามีคนที่เข้ามาหาของป่าและขี้ค้างคาวขุดพระพระพุทธรูปขนาดต่าง ๆ จำนวนมาก โดยเฉพาะเมื่อครั้งอาตมาอายุ 17 ปี ได้มาอยู่กับญาติผู้ใหญ่ ได้มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาเข้าฝันญาติผู้ใหญ่ให้ไปขุดเอาพระพุทธรูปหลายครั้งไม่น้อยกว่า 60-70 องค์นำกลับมาให้อาตมาล้างทำความสะอาด ซึ่งไม่ได้ถือว่าเป็นของมีราคา มีค่ามากมายอะไร ชาวบ้านที่ผ่านไปมาขอไปบูชาคนละองค์ 2 องค์จนหมดอาตมาไม่ได้เก็บไว้แม้แต่องค์เดียว และคิดว่าพระพุทธรูปทั้งหมดหากใครบารมีไม่ถึงคงนำไปเก็บไว้ที่บ้านไม่ได้หลายคนจึงนำมาคืน อย่างไรก็ตามพระพุทธรูปส่วนใหญ่จะอยู่ที่คหบดีใหญ่คนหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช ทำให้กิจการด้านธุรกิจของคหบดีคนดังกล่าวเจริญรุ่งเรืองมีมูลค่านับหมื่นล้าน เคยมีคนมาขอเช่าพระพุทธรูปจากคหบดีคนดังกล่าวสูงถึงองค์ละ 10 ล้านบาทแต่เขาไม่ยอมให้เช่า และรอให้ทางวัดพัฒนาเต็มรูปแบบจะมอบพระพุทธรูปทั้งหมดคืนให้กับทางวัดต่อไป

t12 t1 t9

“เมื่อหลายสิบปีก่อนมีผู้ชายคนหนึ่ง ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่แต่แก่ชรามากแล้ว เข้าขุดหาขี้ค้างตาวพบพระพุทธรูปทางคำองค์?ใหญ่ 1 องค์ถูกฝังในถ้ำ จึงพยายามที่จะนำออกมาจากภายในถ้ำ แต่ๆไม่สามารถเอาออกมาได้เพราะมีโซ่ทองล่ามข้อเท้าของพระพุทธรูปทองคำองค์ดังกล่าวไว้อย่างแน่นหนา ปลายโซ่ทองอีกข้างหนึ่งมุดหายเข้าไปในผนังถ้ำ ประกอบกับเกิดเหตุภูเขาสั่นสะเทือนเหมือนจะถล่ม ชายคนดังกล่าวจึงต้องรีบวิ่งออกมาจากภายในถ้ำ เรื่องที่เกิดขึ้นกลายเป็นเรื่องเล่าขานกันมาจนถึงปัจจุบันนี้”

พระอาจารย์ช่วย ฤทธิอักษร กล่าวอีกว่า โดยเมื่อ 2 วันก่อนอาตมาพร้อมด้วยพระอารยนันต์ เจ้าอาวาส พร้อมคณะกรรมการวัดเขาพระทองจำนวนหนึ่งเดินทางไปหาหมอไสยศาสตร์ชื่อดังใน จ.พัทลุง เพื่อให้ทำพิธีนั่งทางใน เพื่อดูว่ามีแนวทางในการพัฒนาวัดเขาพระทองอย่างไร จะทำได้สำเร็จหรือไม่ หมอไสยศาสตร์ระบุชัดเจนถึงพระพุทธสำคัญที่สุดทำด้วยรูปทองคำชื่อ “พระศรีฉัตรเพชร” ถูกฝังอยู่ในถ้ำ ต้องการที่จะขึ้นมาจากในถ้ำให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้บูชาเป็นสิริมงคล และอนุญาตให้ทางวัดขุดค้นนำพระพุทธรูป พร้อมทรัพย์สมบัติภายในถ้ำทั้งหมดออกมาเพื่อใช้เป็นปัจจัยพัฒนาวัด เขาพระทอง โดยการขุดค้นหาพระพุทธรูปองค์เล็ก ๆ สามารถได้ทันทีด้วยการจุดธูปบนบานบอกกล่าว แต่ในกรณีของพระศรีฉัตรเพชร พระพุทธรูปทองคำพร้อมทรัพย์สมบัติจำนวนมาก จะต้องประกอบพิธีบวงสรวงใหญ่ ก่อนทำการขุดค้น แต่ทั้งหมดจะสามารถนำออกมาจากถ้ำได้ภายในเดือน มีนาคม 2559 และในวันนี้พระอารยนันต์ พร้อมพระภิกษุและชาวบ้าน 5- 6 คนจึงเข้าไปประกอบพิธีบนบานบอกกล่าวภายในถ้ำ เพื่อทดสอบว่าสิ่งที่หมดไสยศาสตร์นั่งทางในเห็นมีอยู่จริงหรือไม่ และเริ่มขุดค้นในพบพระพุทธรูปองค์แรกในเวลาประมาณ 14.35 น. หลังจากนั้นก็พบองค์ที่ 2 และ 3 ในเวลา 16.30 น.”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในช่วงที่มีการขุดพบพระพุทธรูปได้เกิดปรากฏการณ์มี่ลมพายุฝนพัดกระหน่ำบริเวณวัดเขาพระทองรัศมี 1 กม.อย่างรุนแรงและเกิดฟ้าร้อง ฟ้าลั่นและฟ้าผ่าลงมาอย่างต่อเนื่อง เสียงดังดึกก้อง ครึกโครม ราวกับภูเขาจะถล่มทะลายลงมาทั้งลูกน่ากลัวเป็นอย่างมาก เหมือนจะบ่งบอกว่าฟ้าดิน สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ดูแล ปกป้องรักษาพระพุทะรูปโบราณรวมทั้งทรัพย์สมบัติในถ้ำเขาพระทองมาอย่างยาวนานหลายร้อยปีได้รับรู้ถึงการขุดพบพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ จนเมื่อพระอารยนันต์ จุดธูปเทียนบนบานบอกกล่าวพร้อมอัญเชิญพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ออกมานอกถ้ำและนำกลับลงมาที่กุฏิในวัดพายุฝนฟ้าคะนองก็ยุติลงอย่างน่าอัศจรรย์

สำหรับพระพุทธรูปที่พบทั้ง 3 องค์ ๆ แรกเป็นพระพุทธรูปเนื้อทองเหลืองโบราณ “ปางถวายเนตร” คล้ายพระพุทธรูปประจำวันอาทิตย์ มีความสูง 7.50 นิ้ว หรือ 18 ซ.ม. พระอุระหรือหน้าอกกว้าง 5 ซ.ม. พระพักตร์กว้าง 3.5 ซ.ม. ส่วนเกศสูง 1.5 ซ.ม. มีรอยถลอกบริเวณไหล่ขาวเล็กน้อยจนมองเห็นเนื้อในคล้ายเนื้อทองคำ องค์ที่ 2 เป็นประพุทธรูป เนื้อสำริด ประดิษฐานนั่งบนฐานขาดโต๊ะ ปางสมาธิ ความสูง 6.50 นิ้ว หรือประมาณ 14.5 ซ.ม. หน้าตัก 2.5 นิ้วหรือประมาณ 6 ซ.ม. พระอุระหรือหน้าอก 2 นิ้ว หรือประมาณ 5 ซ.ม. พระพักตร์กว้าง 1 นิ้ว หรือ 2.5 ซ.ม. เกศยาว 1 นิ้ว ในขณะที่องค์ที่ 3 ขนาดเล็กสุด ลักษณะคล้ายพิมพ์ลีลา เนื้อชินเขียว องค์พระมองเห็นไม่ชัด ขนาดยาว 2.5 นิ้ว หรือ 6 ซ.ม. กว้าง 1 นิ้วหรือ 2.5 ซ.ม. ทั้ง 3 องค์มีความเก่าแก่คาดว่าอยู่ในสมัยสุโขทัยตอนปลาย-อยุธยา ซึ่งตลอดทั้งวันที่ผู้คนที่ทราบข่าวเดินทางมาชมและกราบไหว้ขอพรพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์อย่างต่อเนื่อง.

ไพฑูรย์ อินทศิลา /กัญญาณัฐ เพ็ญสวัสดิ์/นครศรีธรรมราช

ร่วมแสดงความคิดเห็น